สวัสดีทุกท่านและยินดีต้อนรับค่ะ

การมอบนโยบายการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ด้วย กระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดประชุม มอบนโยบายการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ รายละเอียด ภารกิจในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ของกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้
1.ให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้นักเรียนมีทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่
สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย เช่น การรักนวลสงวนตัว การมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และเห็นคุณค่าทางเพศ
2.จัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับ อนามัยเจริญพันธุ์ เพศศึกษา บทบาทความสัมพันธ์ของหญิงชาย
คุณธรรมจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเหมาะสมกับเด็กและเยาวชนในแต่ละช่วงวัย เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการคุมกำเนิด
3.พัฒนาหลักสูตร วิธีการสอน หรือจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อผสมผสานการสอนวิชาเพศศึกษา
และบทบาทความสัมพันธ์ของหญิงชาย เข้ากับมิติของสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักและมีพฤติกรรมทางเพศสอดคล้องกับมติทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
4.จัดให้มีการฝึกทักษะแก่ผู้สอนวิชาเพศศึกษา เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้แก่เด็กและ
เยาวชนแต่ละช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม
5.ปรับเปลี่ยนทัศนคติบุคลากรด้านการศึกษาให้มีความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของเด็ก
และเยาวชนในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถให้คำปรึกษา ชี้แนะ และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
6.ให้ทักษะชีวิตเพื่อให้นักเรียนรู้จักการป้องกันตนเองจากการถูกละเมิดทางเพศ หรือกรณี
ถูกล่วงละเมิดทางเพศแล้ว สามารถขอรับความช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือได้รับคำชี้แนะ กรณีตั้งครรภ์จากการล่วงละเมิดทางเพศในการเลือกการตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
7.สนับสนุนให้โรงเรียนให้การศึกษาอบรบแก่เด็กนักเรียนชายให้เห็นคุณค่าทางเพศ มีความ
รับผิดชอบเมื่อต้องเป็นพ่อวัยเยาว์ในขณะเรียน และร่วมกันดูบุตรให้ดีที่สุด สามารถปรับตัวได้เมื่อต้องมีครอบครัวในสถานะที่ยังไม่พร้อม
8.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนให้เข้าใจถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก เป็นผู้ให้
ความรู้เรื่องเพศ และบทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวและวางตัวได้อย่างเหมาะสมเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
9.เฝ้าระวังและติดตามเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กและ
เยาวชนที่อยู่ในหอพัก หรือมีพฤติกรรมชอบเที่ยวเตร่ มั่วสุมในสถานบันเทิง เพื่อให้คำแนะนำและ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการยับยั้งชั่งใจ และการคุมกำเนิดทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
10.จัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียนที่เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย เพื่อป้องกัน
และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในระหว่างเรียน
11.มีนโยบายให้สถานศึกษาเปิดโอกาสให้แม่วัยเยาว์กลับไปศึกษาต่อหรือจัดการศึกษา
ทางเลือกเพื่อให้แม่วัยเยาว์ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง กรณีไม่สามารถกลับไปเรียนได้เต็มเวลา
12.ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการผลักดันให้ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดและท้องถิ่น
เป็นกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อมในระดับจังหวัดและในชุมชน

ในการนี้ได้ขอความร่วมมือสถานศึกษาในสังกัดให้ดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน เพื่อรองรับ การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำเขตตรวจราชการทั่วประเทศ

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

เนื่องจาก ปีการศึกษา 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงได้กำหนดให้ดำเนินการดังนี้
1. สัปดาห์ ศธ.เยี่ยมบ้านนักเรียน ระหว่าง วันที่ 7 - 15 มิถุนายน 2551
2. สัปดาห์ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 4 - 8 สิงหาคม 2551
3. สัปดาห์ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 5 - 9 มกราคม 2552
และสพท.ราชบุรี เขต 2 ได้จัดอบรมเชิงปฎิบัติการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เมื่อวันที่ 14 - 15 พฤษภาคม 2551 ณ โรงเรียนหนองโพวิทยา โดยมีทีมวิทยากรจากโรงเรียนหนองโพวิทยาและโรงเรียนวัดดอนตูม หากโรงเรียนใดสนใจวิธีดำเนินการให้ติดต่อสอบถามได้ที่โรงเรียนดังกล่าว
ทำไมต้องเยี่ยมบ้านนักเรียน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นกระบวนการ มีขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยยึดสายใยและความผูกพันระหว่างครูและศิษย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนให้มีทักษะดำรงชีวิตอยู่รอดปลอดภัยในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุข ซึ่งภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนก็คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการเยี่ยมบ้านนักเรียน
เยี่ยมบ้านนักเรียนคืออะไร การเยี่ยมบ้านนักเรียน หมายถึง วิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้ครูได้ทราบชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียน โดยการพบปะสนทนากับผู้ปกครองนักเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เจตคติซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียนทำให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
สิ่งที่ได้จากการเยี่ยมบ้านนักเรียน
- เพื่อเยี่ยมเยือนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน
- เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวนักเรียน ได้แก่ สภาพความเป็นอยู่ ครอบครัว ฐานะทางการเงิน และอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นสภาพที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงได้ยินแต่คำบอกเล่าเท่านั้น
- เพื่อให้คำปรึกษา และแนะนำกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การอบรมสั่งสอน และการเลี่ยงดูนักเรียน
- เพื่อนำข้อมูลที่ได้ ไปวางแผนในการพัฒนา ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน
เราจะเยี่ยมบ้านนักเรียนกันอย่างไร
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบาย บทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ แนวทางในการดำเนินการตลอดจนประสานงานและประชาสัมพันธ์การเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. ประสานสัมพันธ์ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ
ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน เห็นความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการเยี่ยมบ้านนักเรียน พร้อมทั้งเชิญชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเยี่ยมบ้านนักเรียนกับโรงเรียนในพื้นที่ตามความเหมาะสม
2. ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบและเห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยใช้วิธีการและสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่นการประชุมผู้ปกครอง การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน
ระดับสถานศึกษา
1. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและประชาชนทราบ ถึงการดำเนินงาน" สัปดาห์ ศธ เยี่ยมบ้านนักเรียน" โดยสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ การจัดทำจดหมายข่าว หอกระจายข่าว ฯลฯ
2. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง สมาชิกในครอบครัวว่า นักเรียนอยู่กับใคร อยู่อย่างไร หากไปแล้วจะได้พบใครบ้าง
3. วิเคราะห์ว่าใครคือคนที่ต้องการพบ เช่น พ่อ แม่ หรือลุง ป้า น้า อา ของนักเรียน
4. เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ และประเด็นในการสนทนา
5. นัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้พร้อมทั้งสองฝ่าย หรือในกรณีเร่งด่วนอาจไม่นัดหมายก็ได้ หากต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติไม่มีการจัดฉาก ผู้เยี่ยมบ้านอาจไม่นัดหมายล่วงหน้า
6. ไปตามนัด กรณีที่ไปไม่ได้ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพราะผู้ปกครองบางคนอาจต้องหยุดงาน ไม่ควรเลื่อนนัดถ้าไม่จำเป็น
7. หากไปตามนัดแล้วไม่พบใคร ให้ถามเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพื่อทราบข้อมูลที่มาในครั้งต่อไป
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1.การสังเกตสภาพที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมของนักเรียนและบุคคลในบ้านนักเรียน
2. การพูดคุย สนทนากับพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน

ในปีการศึกษา 2553 สพฐ.มีนโยบายดำเนินการต่อให้มีความยั่งยืน

ดูเรื่องที่เกี่ยวข้อง http://www.guidance.go.th/vdoclip.html

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบดูแล

ปรากฏการณ์โลกร้อนคืออะไร


เรื่องของภาวะโลกร้อนที่น่าสนใจ

การแข่งขันว่าวไทย ครั้งที่ 3


เรื่องน่ารู้ของว่าว

- ว่าวไทยที่น่าสนใจ http://210.1.19.168/multimedia/gibo/thaiunitedA/waw/Wow.html
- เว็บว่าวไทย
http://www.gistda.or.th/
- ว่าวไทยและว่าวนานาชาติครั้งที่ 10 http://space.gistda.or.th/10thaiinterkitefestival/
- ว่าวแสนง่ายสำหรับห้องเรียน http://funscience.gistda.or.th/kite/easykite/easykite.html
- ว่าวไอพ่นจากถุงพลาสติก
http://funscience.gistda.or.th/kite/plasticsled/plasticsled.html
- ว่าวธีออส
http://space.gistda.or.th/theos/theoskite.html
http://funscience.gistda.or.th/kap/kap.html
- เตตระฮีดรอน
http://funscience.gistda.or.th/tetrahedron/tetrahedron.html
- พิพิธภัณฑ์ว่าว ณ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาลัยเขต พิษณุโลก
http://funscience.gistda.or.th/kite/culturalcenter/welcome.html

การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ปีงบประมาณ 2554

ความรู้เกี่ยวกับการจราจร
http://www.nu.ac.th/course_hp/001151/page/5-1.htm


ขอเชิญชวนชาวจังหวัดราชบุรีทุกท่านร่วมรณรงค์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ประจำปีงบประมาณ 2554 (โดยปฎิบัติตามมาตรการ 3 ม. 2ข. 1ร.)
เนื่องด้วยตั้งแต่ ปี 2552 สำนักงาน กพร.ได้กำหนดให้จังหวัดราชบุรีเพิ่มตัวชี้วัดการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนภายใต้ยุทธศาสตร์ของจังหวัดมิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฎิบัติการ หัวข้อสัมฤทธิ์ผลตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล จำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต,บาดเจ็บ,ต้องลดลงโดยมีแผนงานโครงการดำเนินการตามยุทธศาตร์ความปลอดภัยทางถนน 5 ด้าน คือ
1.ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (ตามมาตรการ 3 ม. 2 ข. 1 ร.) 3 ม. ได้แก่เมาไม่ขับ สวมใส่หมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และขับขี่จักรยานยนต์อย่างปลอดภัยไม่ดัดแปลง 2 ข .ได้แก่คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่หรือโดยสารรถยนต์ และพกพาใบขับขี่ทุกครั้งที่ขับรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ 1 ร.การขับรถด้วยความเร็วตามอัตราที่กฎหมายกำหนด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี และอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี
2.ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
3.ด้านประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ เขต 2 และทุกอำเภอทุในจังหวัดราชบุรี
4.ด้านวิศวกรรมจราจร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่แขวงการทางราชบุรี
5.ด้านการประเมินและสารสนเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี